เมนู

อรรถกถารูปาทิวรรคที่ 1



อรรถกถาสูตรที่ 1



ในคัมภีร์เหล่านั้น คัมภีร์ ชื่อว่า อังคุตตรนิกาย มี 11 นิบาต คือ
เอกนิบาต ทุกนิบาต ติกนิบาต จตุกกนิบาต ปัญจกนิบาต ฉักกนิบาต
สัตตกนิบาต อัฎฐกนิบาต นวกนิบาต ทสกนิบาต เอกาทสกนิบาต
ว่าโดยสูตร อังคุตตรนิกาย มี 9,557 สูตร บรรดานิบาต
แห่งอังคุตตรนิกายนั้น เอกนิบาต เป็นนิบาตต้น บรรดาสูตร จิตต-
ปริยายสูตร เป็นสูตรต้น คำนิทานแม้แห่งสูตรนั้นมีว่า เอวมฺเม สุตํ
เป็นต้น ท่านพระอานนท์กล่าวไว้ ในกาลมหาสังคีติครั้งแรกเป็นต้น
มหาสังคีติครั้งแรกนี้นั้น กล่าวไว้พิสดารแล้วในเบื้องต้นแห่งอรรถกถา
ทีฆนิกาย ชื่อว่า สุมังคลวิลาสินี เพราะฉะนั้น มหาสังคีติ ครั้งแรกนั้น
พึงทราบโดยพิสดารในอรรถกถาทีฆนิกายนั้นนั่นแล.

ก็บทว่า เอวํ ในคำนิทานวจนะว่า เอวมฺเม สุตํ เป็นต้น เป็นบท
นิบาต บทว่า เม เป็นบทนาม บทว่า วิ ในบทว่า สาวตฺถิยํ วิหรติ นี้
เป็นบทอุปสรรค. บทว่า หรติ เป็นบทอาขยาต. พึงทราบการจำแนก
บทโดยนัยนี้ก่อน.

แต่เมื่อว่าโดยอรรถ ก่ออื่น เอวํ ศัพท์มีอรรถหลายประเภท
อาทิเช่น อุปมา เปรียบเทียบ. อุปเทส แนะนำ, สัมปหังสนะ ยกย่อง,
ครหณะ ติเตีนน, วจนสัมปฏิคคหณะ รับคำ, อาการะ อาการ,
นิทัสสนะ ตัวอย่าง, และอวธารณะ กันความอื่น, จริงอย่างนั้น เอวํ

ศัพท์นั้น มาในอุปมาเปรียบเทียบ ในคำเป็นต้นอย่างนี้ว่า เอวํ ชาเตน
มจฺเจน กตฺตพฺพํ กุสลํ พหุํ
สัตว์ผู้เกิดมาแล้วควรทำกุศลให้มากฉันนั้น.
มาใน อุปเทสะ แน่ะนำในคำเป็นต้นว่า เอวนฺเต อภิกฺกมิตพฺพํ เอวํ
ปฏิกฺกมิตพฺพ
ํ ท่านพึงก้าวไปอย่างนี้ พึงถอยกลับอย่างนี้. มาใน
สัมปหังสนะ ยกย่อง ในคำเป็นต้นว่า เอวเมตํ ภควา เอวเมตํ สุคต
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้อนั้นเป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคตข้อนั้นเป็น
อย่างนั้น. มาในครหณะ ติเตียน ในคำเป็นต้นอย่างนี้ เอวเมว ปนายํ
วสลี ยสฺมึ วา ตสฺมึ วา ตสฺส มุณฺฑกสฺส วณฺณํ ภาสติ
(ก็หญิงถ่อยนี้
ย่อมกล่าวคุณของสมณะโล้น ไม่ว่าในที่ไร ๆ อย่างนี้ทีเดียว.) มาใน
วจนสัมปฏิคคหณะ รับคำ ในคำเป็นต้นว่า เอวํ ภนฺเตติ โข เต ภิกฺขู ภควโต
ปจฺจสฺโสสุํ
ภิกษุเหล่านั้นรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.

มาในอาการะอาการ ในคำเป็นต้นว่า เอวํ พฺยา โข อหํ ภนฺเต
ภควตา ธมฺมํ เทสิตํ อาชานามิ
ท่านขอรับกระผมรู้ทั่งถึงธรรมที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าแสดงแล้วด้วยอาการอย่างนี้.

มาใน นิทัสสนะ ตัวอย่าง ในคำเป็นต้นว่า เอทิ ตฺวํ มาณวก
ฯ เป ฯ เอวญฺจ วเทหิ สาธุ กิร ภวํ อานนฺโท เยน สุภสฺส มาณวสฺส
โตเทยฺยปุตฺตสฺส นิเวสนํ เตนุปสงฺกมตุ อนุกมฺปํ อุปาทาย
มาเถิด
มาณพ ท่านจงเข้าไปหาพระสมณะอานนท์ ถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว จงถาม
ความมีอาพาธน้อย ความมีโรคน้อย ความคล่องแคล่ว กำลังวังชา การอยู่
ผาสุก กะพระสมณะอานนท์ ตามคำของเราว่า สุภมาณพ โตเทยยบุตร

ถามถึงความมีอาพาธน้อย ความมีโรคน้อย ความคล่องแคล้ว กำลังวังชา
การอยู่ผาสุก ก็ท่านพระอานนท์ และจงกล่าวอย่างนี้ว่า ดีละ ขอท่าน
พระอานนท์ โปรดอาศัยความกรุณา เข้าไปยังนิเวสน์ ของสุภมาณพ
โตเทยยบุตร เถิด.

มาในอวธารณะ กันความอื่น ในคำเป็นต้นว่า ตํ กึ มญฺญถ
กาลามา ฯเปฯ เอวํ โน เอตฺถ โหติ
ดูก่อนชาวกาลามะทั้งหลาย
ท่านสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล หรือ
อกุศล ? เป็นอกุศล พระเจ้าข้า มีโทษ หรือไม่มีโทษ ? มีโทษ
พระเจ้าข้า วิญญูชนติเตียน หรือสรรเสริญ ? วิญญูชนติเตียน
พระเจ้าข้า. บุคคลสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เป็น
ประโยชน์ เพื่อทุกข์ หรือไม่เป็นไป หรือในข้อนั้นเป็นอย่างไร ?
พระเจ้าข้า อันบุคคลสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เป็น
ประโยชน์เพื่อทุกข์, ในข้อนี้พวกข้าพระองค์เห็นอย่างนี้.

เอวํ ศัพท์นี้นั้นในที่นี้พึงเห็นว่าใช้ในอรรถว่า อาการะ นิทัสสนะ
และ อวธารณะ

บรรดาอรรถ 3 อย่างนั้น ด้วยเอวํศัพท์ มีอาการะเป็นอรรถ
พระเถระแสดงถึงอรรถนี้ว่า พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ละเอียดด้วยนัยต่าง ๆ มีอัธยาศัยเป็นอันมากเป็นสมุฎฐาน สมบูรณ์
ด้วยอรรถและพยัญชนะ มีปาฏิหาริย์ต่าง ๆ ลึกโดยธรรม, อรรถ,
เทศนา, และปฏิเวธ มาปรากฏทางโสตทวารแห่งสรรพสัตว์ ตาม

สมควรแก่ภาษาของตน ๆ ใครเล่า จะสามารถทราบได้โดยอาการ
ทั้งปวง แต่ข้าพเจ้าทำความอยากฟังให้เกิดขึ้นแล้วด้วยเรี่ยวแรง
ทุกอย่าง ได้ฟังมาแล้วด้วยอาการอย่างนี้ คือ ข้าพเจ้าเองได้ฟังมาแล้ว
ด้วยอาการอย่างหนึ่ง
ด้วย เอวํ ศัพท์ มีนิทัสสนะเป็นอรรถ พระเถระเมื่อจะเปลื้อง
ตนว่า ข้าพเจ้าไม่ใช่พระสยัมภู พระสูตรนี้ ข้าพเจ้ามิได้ทำให้แจ้ง
จึงแสดงสูตรทั้งสิ้น ที่จะควรกล่าวในบัดนี้ว่า เอวมฺเม สุตํ แปลว่า
แม้ข้าพเจ้าก็ได้สดับแล้วอย่างนี้.

ด้วยเอวํ ศัพท์ อันมีอวธารณะ เป็นอรรถ พระเถระเมื่อจะ
แสดงกำลังแห่งความทรงจำของตน อันสมควรแก่ความเป็นผู้มีพระผู้มี
พระภาคเจ้าสรรเสริญแล้วอย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุสาวก
ผู้พหูสูต ของเรา อานนท์เป็นเลิศ บรรดาภิกษุสาวก ของเรา ผู้มี
สติ ผู้มีคติ ผู้มีธิติ ผู้อุปัฏฐาก อานนท์เป็นเลิศ และเป็นผู้ที่พระธรรม
เสนาบดีสารีบุตรสรรเสริญว่า ท่านอานนท์ เป็นผู้ฉลาดในอรรถ
ฉลาดในธรรม ฉลาดในพยัญชนะ ฉลาดในนิรุกติ ฉลาดในอนุสนธิ
เบื้องต้นและเบื้องปลาย จึงยังความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะฟังของสัตว์ทั้งหลาย
ให้เกิดว่าเราได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ ก็สูตรนั้นแล ไม่ขาดไม่เกิน โดยอรรถ
หรือโดยพยัญชนะ พึงเห็นอย่างนี้แหละ ไม่พึงเห็นโดยประการอื่น.

เม ศัพท์ ปรากฏในอรรถ 3 อย่าง จริงอย่างนั้น เม คัพท์นั้น
มีอรรถว่า มยา (อันเรา) ในคำเป็นต้นว่า คาถาภิคีตํ เม อโภชนียํ
โภชนะที่ได้มาเพราะขับคำร้อยกรอง อันเราไม่ควรบริโภค. เม ศัพท์

มีอรรถว่า มยฺหํ (แก่เรา) ในคำเป็นต้นว่า สาธุ เม ภนฺเต ภควา
สงฺขิตฺเตน ธมฺมํ เทเสตุ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สาธุ ! ขอพระผู้มี
พระภาคเจ้า โปรดทรงแสดงธรรมโดยย่อ แก่ข้าพระองค์เถิด. เม ศัพท์
มีอรรถว่า มม (ของเรา) ในคำเป็นต้นว่า ธมฺมทายาทา เม ภิกฺขเว ภวถ
ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเป็นธรรมทายาท ของเรา. แต่ในที่นี้ ใช้
ในอรรถทั้ง 2 คือ มยา สุตํ อันข้าพเจ้าฟังมาแล้ว และว่า มม สุตํ
การฟังของข้าพเจ้า.

ศัพท์ว่า สุต ในบทว่า สุตํ นี้ ทั้งที่มีอุปสรรค และทั้งที่ไม่มีอุปสรรค
มีประเภทแห่งอรรถเป็นอันมาก เช่น คมนะ ไป, วิสุตะ ปรากฏ,
กิลินนะ ชุม, อุปจิตะ สำรวม, อนุยุตฺตะ ขวนขวาย, โสตวิญเญยยะ
เสียงที่รู้ด้วยโสต, และโสตทวารานุสสารวิญญา รู้ทางโสตทวาร
เป็นต้น

จริงอย่างนั้น สุตํ ศัพท์นั้น มีอรรถว่า ไป ในคำเป็นต้นว่า
เสนาย ปสุโต ไปในกองทัพ. เมื่ออรรถว่าเป็นธรรมปรากฏแล้ว
ในคำเป็นต้นว่า สุตฺธมฺมสฺส ปสฺสโต ผู้มีธรรมปรากฏแล้ว เห็นอยู่.
อรรถว่า ภิกษุณีผู้ชุ่มด้วยราคะต่อบุรุษผู้ชุ่มด้วยราคะในคำเป็นต้นว่า
อวสฺสุตา อวสฺสุตสฺส ภิกษุณีผู้กำหนัดด้วยราคะ ต่อบุรุษผู้กำหนัดด้วย
ราคะ อรรถว่า สั่งสม ในคำเป็นต้นว่า ตุมฺเหหิ ปุญฺญํ ปสุตํ อนปฺปกํ
ท่านสั่งสมบุญไว้มิใช่น้อย. อรรถว่าขวนขวายในฌาน ในคำเป็นต้นว่า
เย ฌานปสุตา ธีรา นักปราชญ์เหล่าใด ผู้ขวนขวายในฌาน อรรถว่า
เสียงที่รู้ด้วยโสต ในคำเป็นต้นว่า ทิฏฺฐํ สุตํ มุตํ รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน

อารมณ์ที่รู้, อรรถว่า ทรงความรู้ตามกระแสโสตทวาร ในคำเป็นต้นว่า
สุตธโร สุตสนฺนิจฺจโย ผู้ทรงความรู้สั่งสมความรู้. แต่ในที่นี้ สุต ศัพท์ มี
อรรถว่า อุปธาริตํ ทรงไว้ทางโสตทวาร หรือว่า อุปธารณํ ความทรงจำ.
จริงอยู่ เมื่อ เม ศัพท์ มีอรรถว่า มยา ความว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว
อย่างนี้ คือ เข้าไปทรงจำ ตามกระแสแห่งโสตทวารก็ถูก. เมื่อมีอรรถ
ว่า มม ความว่า การฟังของข้าพเจ้าอย่างนี้ คือ การทรงจำ ตาม
กระแสแห่งโสตทวาร ก็ถูก.

บรรดาบททั้ง 3 นั้น ดังว่ามานี้ บทว่า เอวํ เป็นบทแสดงกิจ
คือหน้าที่ของวิญญาณ มีโสตวิญญาณเป็นต้น บทว่า เม เป็นบทแสดง
บุคคลที่พรั่งพร้อมด้วยวิญญาณดังกล่าวแล้ว บทว่า สุตํ เป็นบท
แสดงถึงการถือเอา ไม่ขาด ไม่เกิน ไม่วิปริต เพราะปฏิเสธ
ภาวะที่ไม่ได้ยิน อนึ่ง บทว่า เอวํ เป็นบทประกาศว่าวิญญาณ-
วิถี ที่เป็นไปแล้วตามกระแสแห่งโสตทวารนั้น เป็นไปในอารมณ์
โดยประการต่าง ๆ. บทว่า เม เป็นบทประกาศตน. บทว่า สุตํ เป็น
บทประกาศธรรม. ก็ในที่นี้ มีความสังเขปดังนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่กระทำ
กิจอย่างอื่น แต่กิจนี้ข้าพเจ้าทำแล้ว ธรรมนี้ ข้าพเจ้า ฟังมาแล้ว โดย
วิญญาณวิถี ที่เป็นไปในอารมณ์ โดยประการต่าง ๆ.

อนึ่ง บทว่า เอวํ เป็นบทประกาศอรรถที่จะพึงชี้แจง. บทว่า
เม เป็นบทประกาศบุคคล. บทว่า สุตํ เป็นบทประกาศกิจของบุคคล.
ท่านอธิบายไว้ว่า ข้าพเจ้าชี้แจงพระสูตรใด พระสูตรนั้น ข้าพเจ้า
ฟังมาแล้วอย่างนี้.

อนึ่ง ศัพท์ว่า เอวํ แสดงอาการต่าง ๆ ของจิตสันดาน ที่ถือ
เอาอรรถและพยัญชนะต่าง ๆ เพราะจิตสันดานเป็นไปต่าง ๆ กัน
จริงอยู่ ศัพท์ว่า เอวํ นี้ แสดงถึงบัญญัติ คือ การรู้โดยอาการ. ศัพท์ว่า
เม แสดงถึงผู้ทำ. ศัพท์ว่า สุตํ แสดงอารมณ์. ด้วยคำเพียงเท่านี้
การตกลงโดยยึดเอาผู้ทำอารมณ์ ของท่านผู้พรั่งพร้อมด้วยจิตสันดาน
นั้น เป็นอันกระทำแล้วด้วยจิตสันดาน อันเป็นไปโดยประการต่าง ๆ.

อีกอย่างหนึ่ง เอวํ ศัพท์ แสดงกิจของบุคคล สุตํ ศัพท์ แสดงกิจ
ของวิญญาณ เม ศัพท์ แสดงบุคคลผู้ประกอบกิจทั้ง 2 ก็ในที่นี้
มีความสังเขปดังนี้ว่า ข้าพเจ้าเป็นบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยวิญญาณ
ซึ่งมีกิจคือการฟัง ได้ฟังมาแล้ว โดยโวหารว่า กิจคือการฟังที่ได้มา
เนื่องด้วยวิญญาณ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอวํ และบทว่า เม เป็นอวิชชมาน-
บัญญัติ บัญญัติสิ่งที่ไม่มีอยู่ ด้วยสามารถแห่งสัจฉิกัฎฐ์ และ
ปรมัตถ จริงอยู่ในที่นี้ คำที่จะพึงได้นิเทศว่า เอวํ หรือว่า เม เมื่อว่า
โดยปรมัตถ จะมีอยู่ด้วยหรือ บทว่า สุตํ เป็นวิชชมานบัญญัติ บัญญัติ
สิ่งที่มีอยู่ คือ ในที่นี้สิ่งที่ได้มาด้วยโสตวิญญาณนั้นมีอยู่โดยปรมัตถ์.
บทว่า เอวํ และว่า เม เป็นปาทายบัญญัติเพราะอาศัยสิ่งที่ได้มา
ด้วยโสตะนั้น ๆ กล่าวโดยประการนั้น. บทว่า สุตํ เป็นอุปนิธายบัญญัติ
(บัญญัติในการตั้งไว้) เพราะเก็บเอาสิ่งที่เห็นแล้วเป็นต้นมากล่าว
อนึ่งบรรดาคำทั้ง 2 นั้น ด้วยคำว่า เอวํ ท่านพระอานนท์แสดงถึงความ
ไม่หลง จริงอยู่ ผู้หลง ย่อมไม่สามารถจะเข้าใจได้โดยประการต่าง ๆ.

ด้วยคำว่า สุตํ ท่านพระอานนท์แสดงความไม่ลืมข้อที่ฟังแล้ว. จริงอยู่
ผู้ใดฟังแล้วแต่ลืมเสีย ต่อมาผู้นั้นก็รับรองไม่ได้ว่า ข้าพเจ้าฟังมาแล้ว
ดังนั้นพระอานนท์นั้น ชื่อว่าสำเร็จด้วยปัญญา เพราะความไม่หลง
ชื่อว่าสำเร็จด้วยสติ เพราะความไม่ลืม บรรดาปัญญา และสตินั้น
ความที่สติซึ่งมีปัญญาเป็นตัวนำ สามารถจะทรงจำพยัญชนะได้
ความที่ปัญญาซึ่งมีสติเป็นตัวนำ สามารถเข้าใจอรรถได้ ชื่อว่า
สำเร็จด้วยความเป็นธรรมภัณฑาคาริก เพราะสามารถอนุรักษ์
คลังธรรม ซึ่งสมบูรณ์ด้วยอรรถและพยัญชนะ เพราะประกอบด้วย
ความสามารถทั้ง 2 อย่างนั้น.

อีกนัยหนึ่ง ก็ด้วยคำว่า เอวํ ท่านพระอานนท์แสดงความใส่ใจ
โดยแยบคาย เพราะเมื่อใส่ใจโดยไม่แยบคาย ก็ไม่เข้าใจโดย
ประการต่าง ๆ ได้ ก็ด้วยคำว่า สุตํ ท่านพระอานนท์แสดงถึง
ความไม่ฟุ้งซ่าน แม้เขาจะพูดโดยถูกต้องทุกอย่าง ก็กล่าวว่า
ข้าพเจ้าไม่ได้ยิน ท่านจงกล่าวอีก ก็ด้วยการใส่ใจโดยแยบคาย
ในข้อนี้ ย่อมให้สำเร็จอัตตสัมมาปณิธิ ความตั้งตนไว้ชอบ และ
ปุพเพกตปุญญตา ความเป็นผู้มีบุญอันได้ทำไว้ในปางก่อน เพราะผู้
ที่ไม่ตั้งตนไว้ชอบ และไม่กระทำบุญไว้ในปางก่อน ก็เป็น
อย่างอื่นคือไม่มีโยนิโสมนสิการ ด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน ก็ให้สำเร็จ
สัทธัมมัสสวนะ การฟังพระสัทธรรม และสัปปุริสูปสังสยะ การเข้า
ไปคบหาสัตบุรุษ. เพราะผู้ที่มีจิตฟุ้งซ่านไม่อาจฟัง และเมื่อไม่เข้าไป
หาสัตบุรุษ การฟังก็ไม่มีแล.

อีกนัยหนึ่ง เพราะเหตุที่กล่าวมาแล้วว่า ศัพท์ว่า เอวํ แสดงอาการ
ต่าง ๆ ของจิตสันดาน ที่ถือเอาอรรถและพยัญชนะต่าง ๆ เพราะ
จิตตสันดานเป็นไปต่าง ๆ กัน และจิตตสันดานนั้น ก็คืออาการอันงาม
อย่างนี้ ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ตั้งตนไว้ชอบ หรือแก่ผู้ไม่กระทำบุญไว้ใน
ปางก่อน ฉะนั้น ด้วยคำว่า เอวํ นี้ท่านพระอานนท์แสดงสมบัติ คือ
จักรธรรม 2 ข้อหลังของตนด้วยอาการอันงาม แสดงสมบัติ คือ
จักรธรรม 2 ข้อแรกโดยประกอบการฟังด้วยบทว่า สุตํ. เพราะผู้อยู่
ในประเทศอันไม่สมควร และผู้เว้นจากการเข้าไปคบหาสัตบุรุษ
การฟังก็ไม่มี ดังนั้น ท่านพระอานนท์นั้น จึงสำเร็จอาสยสุทธิ
ความหมดจดแห่งอาสยะ เพราะความสำเร็จแห่งจักรธรรม 2 ข้อหลัง
สำเร็จปโยคสุทธิ ความหมดจดแห่งการประกอบ เพราะความสำเร็จ
แห่งจักรธรรม 2 ข้อข้างต้น และท่านพระอานนท์ สำเร็จความ
เชี่ยวชาญในอาคม (นิกายทั้ง 5 ) ก็เพราะอาสยสุทธิ ความหมดจด
แห่งอาสยะนั้น. สำเร็จความเชี่ยวชาญในอธิคม (มรรคผล) ก็เพราะ
ปโยคสุทธิ ความหมดจดแห่งประโยค ดังนั้น คำของพระอานนท์ ผู้
หมดจดด้วยประโยค การประกอบและ อาสยะอัธยาศัย ผู้ถึงพร้อม
ด้วยอาคมและอธิคม จึงควรจะเป็นเบื้องต้น (ตัวนำ) แห่งพระดำรัส
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เหมือนอรุณขึ้นเป็นเบื้องต้นของอาทิตย์อุทัย
และเหมือนโยนิโสมนสิการ เป็นเบื้องต้นแห่งกุศลกรรมฉะนั้น เพราะ
ฉะนั้น ท่านพระอานนท์เมื่อตั้งนิทานวจนะ คำเริ่มต้นในฐานที่ควร
จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ดังนี้.

อีกนัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์แสดงสภาวะแห่งสมบัติ คือ

อรรถปฎิสัมภิทาและปฎิภาณปฎิสัมภิทาของตน ด้วยคำอันแสดงถึง
ความรู้แจ้งด้วยประการต่าง ๆ ด้วยคำว่า เอวํ นี้. แสดงสภาวะแห่ง
สมบัติคือ ธรรมปฏิสัมภิทา และนิรุตติสัมภิทา ด้วยคำอันแสดง
ความถึงความรู้แจ้งประเภทแห่งธรรมที่ควรฟังด้วยคำว่า สุตํ นี้.
พระเถระเมื่อกล่าวถึงคำอันแสดงโยนิโสมนสิการนี้ว่า เอวํ ย่อมแสดง
ว่า ธรรมเหล่านี้ เราเพ่งพินิจแล้วด้วยใจ ขบคิดดีแล้วด้วยทิฏฐิ พระ
เถระเมื่อกล่าวถึงคำอันแสดงการประกอบเนือง ๆ ซึ่งการฟังนี้ว่า
สุตํ ย่อมแสดงว่า ธรรมเป็นอันมาก เราฟังแล้ว ทรงจำแล้ว คล่องปาก
แล้ว แม้ด้วยคำทั้ง 2 นั้น พระเถระเมื่อแสดงความบริบูรณ์ แห่งอรรถ
และพยัญชนะ จึงทำให้เกิดความเอื้อเฟื้อในการฟัง. จริงอยู่ บุคคล
เมื่อไม่ฟังธรรมที่บริบูรณ์ด้วยอรรถและพยัญชนะ ด้วยความเอื้อเฟื้อ
ย่อมเหินห่างจากประโยชน์เกื้อกูลเป็นอันมาก เพราะฉะนั้น ควร
ทำความเอื้อเฟื้อให้เกิดแล้ว ฟังธรรมโดยความเคารพเถิด.

อนึ่งด้วยคำทั้งสิ้นว่า เอวมฺเม สุตํ นี้ ท่านพระอานนท์ เมื่อไม่ตั้ง
ธรรมที่ตถาคตประกาศแล้วไว้กับตน ชื่อว่าก้าวล่วงภูมิอสัตบุรุษ
เมื่อปฎิญญาความเป็นพระสาวก ชื่อว่าหยั่งลงสู่ภูมิสัตบุรุษ. อนึ่ง
ทำจิตให้ออกจากอสัทธรรม ชื่อว่า ตั้งจิตไว้ในสัทธรรม. เมื่อแสดงว่า
อ้างอิงพระดำรัสของพระชินเจ้า ชื่อว่า ดำรงธรรมเนตติไว้ (เนตติ
คือ ชักนำสัตว์ในประโยชน์โลกนี้ ประโยชน์โลกหน้า และปรมัตถ-
ประโยชน์ ตามควร)
อีกนัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์เมื่อไม่ปฏิญาณว่าธรรมนั้นตนทำ
ให้เกิดขึ้น จึงไขคำเบื้องต้นว่า เอวมฺเม สุตํ กำจัดความไม่มีศรัทธา

ทำสัทธาสมบัติให้เกิดขึ้นในธรรมนี้ แก่เทวดาและมนุษย์ทุกเหล่าว่า
พระดำรัสนี้เรารับแล้ว ในที่เฉพาะพระพักตร์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์นั้น ผู้แกล้วกล้าด้วยเวสารัชชญาณ 4 ผู้ทรงไว้ซึ่งพลญาณ
ผู้ดำรงอยู่ในฐานะอันประเสริฐ. ผู้บันลือสีหนาท ผู้สูงสุดกว่าสัตว์
ทั้งปวง ผู้เป็นใหญ่ในธรรม ผู้เป็นพระธรรมราชา เป็นธรรมาธิบดี ผู้มี
ธรรมเป็นปทีป ผู้มีธรรมเป็นที่พึง ผู้หมุนล้อคือพระสัทธรรมอัน
ประเสริฐ ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ จึงไม่ควรทำความสงสัยหรือความ
เคลือบแคลงในอรรถ ธรรม บท หรือพยัญชนะ ในคำนี้ เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวคำนี้ไว้ว่า

วินาสยติ อสฺสทฺธํ สทฺธํ วฑฺเฒติ สาสเน
เอวมฺเม สุตมิจฺเจวํ วทํ โคตมสาวโก

สาวกของพระโคดม เมื่อกล่าวอย่างนี้ว่า
เอวมฺเม สุตํ ชื่อว่าทำความไม่มีศรัทธาให้พินาศ
ทำศรัทธาในพระศาสนาให้เจริญ

ศัพท์ว่า เอกํ แสดงการกำหนดจำนวน ศัพท์ว่า สมยํ
แสดงกาลที่กำหนดไว้แล้ว คำว่า เอกํ สมยํ เป็นคำแสดงเวลาไม่
แน่นอน สมยศัพท์ ในคำว่า เอกํ สมยํ นั้น ใช้ในสมวายะ
พร้อมเพรียง 1 ขณะ 1 กาล 1 สมุหะ ชุมนุม 1 เหตุ 1 ทิฏฐิ
ความเห็น 1 ปฏิลาภะ การได้เฉพาะ 1 ปหานะ การละ 1 ปฏิเวธ
การแทงตลอด 1.

จริงอย่างนั้น สมย ศัพท์ มีอรรถว่า สมวายะ พร้อมเพรียง
ในคำมีอาทิอย่างนี้ว่า อปฺเปว นาม เสฺวปิ อุปสงฺกเมยฺยาม กาลญฺจ
สมยญฺจ อุปาทาย
ถ้ากระไร แม้พรุ่งนี้ เราทั้งหลาย พึงอาศัยกาละ
และความพร้อมเพรียงกันเข้าไป.

มีอรรถว่า ขณะ ในคำมีอาทิอย่างนี้ว่า เอโก จ โข ภิกฺขเว
ขโณ จ สมโย จ พฺรหฺมจริยวาสาย
ภิกษุทั้งหลาย ขณะ และสมัยหนึ่ง
มีเพื่ออยู่ประพฤติพรหมจรรย์แล.
มีอรรถว่า กาล ในคำมีอาทิอย่างนี้ว่า อุณฺหสมโย ปริฬาหสมโย
คราวร้อน คราวกระวนกระวาย.

มีอรรถว่า สมุหะ ประชุม ในคำมีอาทิอย่างนี้ มหาสมโย
ปวนสฺมึ ประชุม
ใหญ่ในป่าใหญ่. มีอรรถว่า เหตุ ในคำมีอาทิอย่างนี้ว่า
สมโย ปิ โข เต ฯ เป ฯ อปฺปฏิวิทฺโธ อโหสิ แม้เหตุแล ได้เป็นเหตุ
ที่เธอไม่รู้แจ้งว่า แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าแล เสด็จอยู่ในกรุงสาวัตถี.
แม้พระองค์จักทรงทราบเราว่า ภิกษุชื่อภัททาลิ มิใช่ผู้มีปกติทำให้
บริบูรณ์ ด้วยสิกขาในศาสนาของพระศาสดา ดูก่อนภัททาลิ เหตุ
แม้นี้แลได้เป็นเหตุที่เธอไม่รู้แจ้งแล้ว.
มีอรรถว่า ลัทธิ ในคำมีอาทิอย่างนี้ว่า เตน โข ปน สมเยน
ฯ เป ฯ สมยปฺปวาทเก ติณฺฑุกาจิเร เอกสาลเก มลฺลิกาย อาราเม
ปฏิวสติ
ก็สมัยนั้นแล ปริพาชก ชื่ออุคคาหมานะ บุตรของสมณ
มุณฑิกา อาศัยอยู่ในอารามของพระนางมัลลิกา มีศาลาหลังเดียว
มีต้นมะพลับเรียงราย อันเป็นที่สอนลัทธิ.

มีอรรถว่าได้เฉพาะ ในคำมีอาทิอย่างนี้ว่า

ทิฏฺเฐ ธมฺเม จ โย อตฺโถ โย จตฺโถ สมฺ-
ปรายิโก อตฺถาภิสมายา ธีโร ปณฺฑิโตติ ปวุจฺจติ

ผู้มีปัญญาเป็นเครื่องทรงจำ เราเรียกว่าบัณฑิต
เพราะการได้เฉพาะซึ่งประโยชน์ทั้งภพนี้และ
ภพหน้า.


มีอรรถว่า ปหานะ ละ ในคำมีอาทิอย่างนี้ว่า สมฺมามานาภิสมยา
อนฺตมกาสิ ทุกฺขสฺส
ภิกฺนี้ได้กระทำที่สุดทุกข์ เพราะละมานะ
โดยชอบ.
มีอรรถว่า ปฏิเวธ แทงตลอด ในคำมีอาทิอย่างนี้ว่า ทุกฺขสฺส
ปีฬนฏฺโฐ ฯลฯ วิปริณามฏฺโฐ อภิสมยฏฺโฐ
ทุกข์ มีอรรถว่าบีบคั้น
ปรุงแต่ง เร่าร้อน แปรปรวน แทงตลอด.
แต่ในที่นี้ สมยศัพท์นั้น มีอรรถว่า กาล.
ด้วยคำนั้น พระเถระแสดงว่า สมัยหนึ่ง ในบรรดาสมัยทั้งหลาย
อันเป็นประเภทแห่งกาล เป็นต้นว่า ปี ฤดู เดือน กึ่งเดือน กลางคืน
กลางวัน เช้า เที่ยง เย็น ปฐมยาม มัชฌิมยาม ปัจฉิมยาม และครู่.

ในคำว่า เอกํ สมยํ นั้น บรรดาสมัย มีปีเป็นต้นเหล่านั้น พระ-
สูตรใด ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ในปี ฤดู เดือน ปักษ์ ส่วนแห่ง
ราตรี ส่วนแห่งวันไร ๆ ทั้งหมดนั้น พระเถระรู้ดีแล้ว กำหนดดีแล้ว

ด้วยปัญญาแม้โดยแท้ ถึงอย่างนั้น เมื่อพระเถระกล่าวไว้อย่างนี้ว่า
ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ว่า ในปีโน้น ฤดูโน้น เดือนโน้น ปักษ์
โน้น กาลอันเป็นส่วนแห่งราตรีโน้น ส่วนแห่งวันโน้น ใคร ๆ ก็ไม่
สามารถจะทรงจำได้หรือแสดงได้ หรือให้ผู้อื่นแสดงได้โดยง่าย
และเป็นเรื่องที่ต้องกล่าวมาก ฉะนั้นท่านจึงประมวลเนื้อความนั้น
ไว้ด้วยบทเดียวเท่านั้น แล้วกล่าวว่า เอกํ สมยํ ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ท่านพระอานนท์ย่อมแสดงว่า สมัยของพระผู้
มีพระภาคเจ้า เป็นประเภทของกาลมิใช่น้อยที่เดียว ที่ปรากฏมากมาย
ในหมู่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย มีอาทิอย่างนี้ คือ สมัยเสด็จก้าวลง
สู่พระครรภ์ สมัยประสูติ สมัยทรงสลดพระทัย สมัยเสด็จออกผนวช
สมัยทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยา สมัยทรงชนะมาร สมัยตรัสรู้ สมัย
ประทับเป็นสุขในทิฏฐธรรม สมัยตรัสเทศนา สมัยเสด็จปรินิพพาน
เหล่านี้ใด ในบรรดาสมัยเหล่านั้น สมัยหนึ่ง คือสมัยตรัสเทศนา
อนึ่ง ในบรรดาสมัยแห่งญาณกิจ และกรุณากิจ สมัยแห่ง
กรุณากิจนี้ใด ในบรรดาสมัยทรงบำเพ็ญประโยชน์พระองค์และ
ทรงบำเพ็ญประโยชน์ผู้อื่น สมัยทรงบำเพ็ญประโยชน์อื่นนี้ใด
ในบรรดาสมัยแห่งกรณียะทั้งหลายแก่ผู้ประชุมกัน สมัยตรัสธรรมี-
กถานี้ใด ในบรรดาสมัยแห่งเทศนาและปฏิบัติ สมัยแห่งเทศนานี้ใด
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า สมัยหนึ่ง ดังนี้ หมายถึงสมัยใดสมัยหนึ่ง
ในบรรดาสมัยทั้งหลายแม้เหล่านั้น.
ถามว่า ก็เหตุไร ในพระสูตรนี้ท่านจึงทำนิเทศด้วยทุติยา-
วิภัตติว่า เอกํ สมยํ ไม่การทำเหมือนอย่างในพระอภิธรรม ซึ่ง

ท่านได้ทำนิเทศด้วยสัตตมีวิภัตติว่า ยสฺมึ สมเย กามาวจรํ และใน
สุตบทอื่น ๆ จากพระอภิธรรมนี้ ก็ท่านิเทศด้วยสัตตมีวิภัตติว่า
ยสฺมึ สมเย ภิกฺขเว ภิกฺขุ วิวิจฺเจว กาเมทิ ส่วนในพระวินัยท่านทำ
นิเทศด้วยตติยาวิภัตติว่า เตน สมเยน พุทฺโธ ภควา ?

ตอบว่า เพราะในพระอภิธรรมและพระวินัยนั้น มีอรรถเป็น
อย่างนั้น ส่วนในพระสูตรนี้มีอรรถเป็นอย่างอื่น.. จริงอยู่ บรรดา
ปิฎกทั้ง 3 นั้น ในพระอภิธรรมและในสุตตบทอื่นจากพระอภิธรรมนี้
ย่อมสำเร็จอรรถแห่งอธิกรณะและอรรถแห่งการกำหนดภาวะด้วย
ภาวะ. ก็อธิกรณะ. คือสมัยที่มีกาลเป็นอรรถและมีประชุมเป็นอรรถ
และภาวะแห่งธรรมมีผัสสะเป็นต้น ท่านกำหนดด้วยภาวะแห่งสมัย
กล่าวคือขณะความพร้อมเพรียงและเหตุแห่งธรรมมีผัสสะเป็นต้น
ที่ตรัสไวในพระอภิธรรมและสุตตบทอื่นนั้น ๆ เพราะฉะนั้นเพื่อส่อง
อรรถนั้น ท่านจึงท่านิเทศด้วยสัตตมีวิภัตติในพระอภิธรรมและใน
สุตตบทอื่นนั้น. ส่วนในพระวินัย ย่อมสำเร็จอรรถแห่งเหตุแลอรรถ
แห่งกรณะ. จริงอยู่ สมัยแห่งการทรงบัญญัติสิกขาบทนั้นใด แม้
พระสาวกมีพระสารีบุตรเป็นต้น ก็ยังรู้ยาก โดยสมัยนั้นอันเป็นเหตุ
และเป็นกรณะ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงบัญญัติสิกขาบททั้งหลาย
และทรงพิจารณาถึงเหตุแห่งการทรงบัญญัติสิกขาบท ได้ประทับ
อยู่ในที่นั้น ๆ เพราะฉะนั้น เพื่อส่องความข้อนั้น ท่านจึงทำนิเทศ
ด้วยตติยาวิภัตติในพระวินัยนั้น. ส่วนในพระสูตรนี้และพระสูตรอื่น
ที่มีกำเนิดอย่างนี้ ย่อมสำเร็จอรรถแห่งอัจจันตะสังโยคะ จริงอยู่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงพระสูตรนี้ หรือพระสูตรอื่น ตลอด

สมัยใด เสด็จประทับอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่คือกรุณา ตลอด
สมัยนั้นทีเดียว. เพราะฉะนั้นเพื่อส่องความข้อนั้น ท่านจึงทำนิเทศ
ด้วยทุติยาวิภัตติในพระสูตรนี้. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคาถา
ประพันธ์ไว้ดังนี้ว่า

ท่านพิจารณาอรรถนั้น ๆ กล่าวสมยศัพท์
ในปิฎกอื่นด้วยสัตตมีวิภัตติและตติยาวิภัตติ แต่
ในพระสุตตันตปิฎกนี้ กล่าวสมยศัพท์นั้นด้วย
ทุติยาวิภัตติ.


ก็พระโบราณาจารย์ทั้งหลายพรรณนาไว้ว่า นี้ต่างกันแต่เพียง
โวหารว่า ตสฺมึ สมเย บ้าง เตน สมเยน บ้าง ตํ สมยํ บ้าง ในที่
ทุกแห่ง มีอรรถเป็นสัตตมีวิภัติทั้งนั้น เพราะฉะนั้น แม้ท่านกล่าวว่า
เอกํ สมยํ ก็พึงทราบเนื้อความว่า เอกสฺมึ สมเย (ในสมัยหนึ่ง)

บทว่า ภควา เป็นคำกล่าวด้วยความเคารพ. จริงอยู่ คนทั้งหลาย
เรียกครูในโลกว่า ภควา. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้านี้ เป็นครูของสัตว์
ทั้งปวง เพราะเป็นประเสริฐพิเศษโดยคุณทั้งปวง เพราะฉะนั้น
พึงทราบพระองค์ว่า ภควา. แม้พระโบราณาจารย์ทั้งหลายก็กล่าวไว้ว่า

คำว่า ภควา เป็นคำประเสริฐ คำว่า ภควา
เป็นคำสูงสุด พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ผู้ควรแก่
ความเคารพโดยฐานครู เพราะเหตุนั้น บัณฑิต
จึงขนานพระนามว่า ภควา.

อีกอย่างหนึ่ง บัณฑิตพึงทราบความแห่งบทนั้น โดยพิสดาร
ด้วยอำนาจแห่งคาถานี้ว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเป็นผู้มีโชค ทรง
หักกิเลส ทรงประกอบด้วยภคธรรม ทรงจำแนก
แจกธรรม ทรงน่าคบ และทรงคายกิเลสเป็น
เครื่องไปในภพทั้งหลายเสียได้ เพราะเหตุนั้น
ทรงพระนามว่า ภควา


เนื้อความนั้น กล่าวไว้แล้ว โดยพิสดารในพุทธานุสสตินิเทศ
ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั้นแล.

ก็ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ พระเถระเมื่อแสดงธรรมตามที่ฟังมา
จึงกระทำพระสรีระคือพระธรรม ของพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ประจักษ์
ด้วยคำว่า เอวมฺเม สุตํ ในสูตรนี้. ด้วยคำนั้น พระเถระชื่อว่า ปลอบโยน
คนผู้รันทด เพราะไม่ได้เห็นพระศาสดาว่า ปาพจน์ (ธรรม และวินัย)
นี้ ชื่อว่ามีศาสดาล่วงไปแล้วหามิได้ พระธรรมวินัยนี้ เป็นศาสดา
ของท่านทั้งหลาย. ด้วยคำว่า เอกํ สมยํ ภควา พระเถระ เมื่อจะแสดงว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่มีอยู่ในสมัยนั้น ชื่อว่ายกการปรินิพพาน ทาง
รูปกายให้เห็น ด้วยคำนั้น พระเถระจึงทำผู้มัวเมา เพราะความเมา
ในชีวิตให้เกิดความสังเวช และทำให้คนนั้นเกิดความอุตสาหะ ในพระ-
สัทธรรมว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ผู้ทรงไว้ซึ่งทศพลญาณ มีพระ
วรกายเสมอด้วยรางเพชร ผู้ทรงแสดงอริยธรรม ชื่ออย่างนี้ ยังปริ-

นิพพาน คนอื่นใครเล่าจะพึงให้เกิดความหวังในชีวิต และพระเถระเมื่อ
กล่าวว่า เอวํ ชื่อว่าชี้เทศนาสมบัติ (สมบัติคือการแสดง). กล่าวว่า
เม สุตํ ชื่อว่าชี้ถึงสาวกสมบัติ (สมบัติของสาวก). กล่าวว่า เอกํ สมยํ
ชื่อว่าชี้ถึงกาลสมบัติ (สมบัติคือเวลา) กล่าวว่า ภควา ชื่อว่าชี้ถึง
เทสกสมบัติ (สมบัติคือผู้แสดง).

บทว่า สาวตฺถิยํ ได้แก่ ใกล้นครชื่ออย่างนี้. ก็คำว่า สาวตฺถิยุํ
นี้ เป็นสัตตมีวิภัติ ใช้ในอรรถว่าใกล้. บทว่า วิหรติ นี้ เป็นบทแสดง
ความพรั่งพร้อมแห่งการอยู่อย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาอิริยาบถ-
วิหาร ทิพวิหาร พรหมวิหาร และอริยวิหาร โดยไม่แปลกกัน. แต่
ในที่นี้แสดงการประกอบพร้อมด้วยอิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดา
อิริยาบถ ต่างโดย ยืน เดิน นั่ง ละนอน ด้วยบทว่า วิหรติ นั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้าประทับยืนก็ดี เดินก็ดี นั่งก็ดี บรรทมก็ดี บัณฑิตพึงทราบ
ว่าประทับอยู่ทั้งนั้น. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงตัดขาด
ความลำบากแห่งอิริยาบถหนึ่ง ด้วยอิริยาบถหนึ่ง ทรงนำไปคือทำ
อัตภาพให้เป็นไป ไม่ให้ทรุดโทรม เพราะเหตุนั้น ท่านพระอานนท์
จึงกล่าวว่า วิหรติ (ประทับอยู่).

บทว่า เชตวเน ได้แก่ ในสวนของพระราชกุมาร พระนามว่า
เชต สวนนั้น พระราชกุมารพระนามว่า เชต นั้น ได้ปลูกต้นไม้ให้
เจริญงอกงาม รักษาไว้อย่างดี และพระองค์ได้เป็นเจ้าของสวนนั้น
เพราะฉะนั้น สวนนั้น จึงนับว่า เชตวัน.ในพระเชตวันนั้น.

บทว่า อนาถปิณฺฑิกสฺส อาราเม ความว่า อารามอันนับว่า
ของท่านอนาถบิณฑิกะ เพราะเป็นอารามที่คฤหบดีนามว่า อนาถ-
บิณฑิกะ มอบถวายแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน โดย
บริจาคทรัพย์เป็นเงิน 54 โกฏิ ก็ในที่นี้ ความสังเขปมีเพียงเท่านี้.
ส่วนความพิสดาร กล่าวไว้แล้วในอรรถกถาสัพพาสวสูตร
อรรถกถามัชฌิมนิกาย ชื่อปปัญจสูทนี ในข้อนั้น หากมีคำถามสอด
เข้ามาว่า ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ที่กรุงสาวัตถีก่อน.
พระเถระก็ไม่ควรกล่าวว่า พระวิหารชื่อว่า เชตวัน ถ้าพระองค์
ประทับอยู่ในพระเชตวันนั้น ก็ไม่ควรกล่าวว่า ใกล้กรุงสาวัตถี.
ความจริง ใคร ๆ ไม่อาจจะอยู่ได้ในที่ 2 แห่ง พร้อมคราวเดียวกัน
แก้ว่า ข้อนั้น ไม่พึงเห็นอย่างนั้น ข้าพเจ้าทั้งหลาย ได้กล่าวไว้แล้ว
มิใช่หรือว่า คำว่า สาวตฺถิยํ เป็นสัตตมีวิภัติ ใช้ในอรรถว่าใกล้
เพราะฉะนั้น แม้ในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ในพระวิหาร
ชื่อว่าเชตวัน ที่อยู่ใกล้กรุงสาวัตถี ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ประทับ
อยู่ในพระวิหารชื่อว่า เชตวัน ใกล้กรุงสาวัตถี เหมือนฝูงโคเที่ยว
หากินใกล้แม่น้ำคงคา และแม่น้ำยมุนา เป็นต้น เขาก็เรียกว่า เที่ยว
หากินใกล้แม่น้ำคงคา ใกล้แม่น้ำยมุนา ฉะนั้น. จริงอยู่ การกล่าวถึง
กรุงสาวัตถี ของท่านพระอานนท์นั้น ก็เพื่อแสดงโคจรคาม การกล่าว
ถึงสถานที่ที่เหลือ ก็เพื่อแสดงสถานที่เป็นที่อาศัย อันสมควรแก่
บรรพชิต ในคำเหล่านั้น ด้วยคำว่า สาวตฺถิยํ ท่านพระอานนท์ แสดง
การที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกระทำการอนุเคราะห์แก่คฤหัสถ์.
แสดงการกระทำอนุเคราะห์แก่บรรพชิต ด้วยการระบุถึงพระเชตวัน

อนึ่งพระเถระแสดงการเว้นอัตตกิลมถานุโยค เพราะการรับปัจจัย
ด้วยคำต้น แสดงอุบายเป็นเครื่องเว้นกามสุขัลลิกานุโยค เพราะวัตถุ
กาม ด้วยคำหลัง. อนึ่ง แสดงการประกอบพระธรรมเทศนา ด้วย
คำต้น แสดงการน้อมไปเพื่อวิเวก ด้วยคำหลัง. แสดงการมีพระกรุณา
ด้วยคำต้น แสดงการมีพระปัญญา ด้วยคำหลัง แสดงว่าทรงน้อมไป
ในอันให้สำเร็จหิตสุขแก่เหล่าสัตว์ ด้วยคำต้น แสดงว่าไม่ทรงติด
ในการทำหิตสุขแก่ผู้อื่น ด้วยคำหลัง แสดงการที่ทรงอยู่ผาสุก ด้วย

การสละสุขที่ชอบธรรมเป็นนิมิต ด้วยคำต้น แสดงการทรงประกอบ
เนือง ๆ ซึ่งธรรมอันยิ่งของมนุษย์เป็นนิมิต ด้วยคำหลัง แสดงการ
ที่ทรงเป็นผู้มีอุปการะมากแก่มนุษย์ทั้งหลาย ด้วยคำต้น เสดงการ
ที่ทรงเป็นผู้มีอุปการะมากแก่เทวดาทั้งหลาย ด้วยคำหลัง แสดงการ
ที่เสด็จอุบัติขึ้นในโลกแล้วเจริญพร้อมในโลก ด้วยคำต้น แสดงการ
ที่ไม่ทรงเข้าไปติดในโลก ด้วยคำหลัง. แสดงทรงทำประโยชน์ที่
เสด็จอุบัติให้สำเร็จเรียบร้อย ด้วยคำต้น โดยพระบาลีว่า "ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเอก เมื่ออุบัติขึ้นในโลก ย่อมอุบัติขึ้นเพื่อเกื้อกูล
แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์สัตว์โลก เพื่อ
ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บุคคล
เอกคือบุคคลชนิดไหน คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า".


แสดงการที่ทรงอยู่สมควรแก่สถานที่เป็นที่อุบัติ ด้วยคำหลัง. จริงอยู่
พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอุบัติในป่า ทั้งนั้น ด้วยอุบัติทั้งที่เป็น
โลกิยะและโลกุตตระ คือ ครั้งแรก ที่ลุมพินีวัน ครั้งที่ 2 ที่โพธิ-
มัณฑสถาน เพราะเหตุนั้น พระเถระจึงแสดงที่ประทับอยู่ของพระองค์

ในป่า ทั้งนั้น. ในสูตรนี้ พึงทราบการประกอบความโดยนัยดังกล่าว
มาแล้วเป็นต้น ฉะนี้.

บทว่า ตตฺร แสดงเทสะ และกาละ. ก็บทว่า ตตฺร นั้น พระเถระ
แสดงว่า ในสมัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ และในอารามที่
ประทับอยู่ หรือแสดงเทสะ และกาละ อันควรจะกล่าวถึง. จริงอยู่พระผู้มี-
พระภาคเจ้าไม่ตรัสธรรมในประเทศหรือในกาลอันไม่สมควร1. ก็คำว่า
"ดูก่อนพาหิยะ นี้เป็นกาลไม่สมควรก่อน" เป็นข้อสาธกในเรื่องนี้.
ศัพท์ว่า โข เป็นอวธารณะ ใช้ในอรรถเพียงทำบทให้เต็มหรือเป็น
นิบาต ใช้ในอรรถว่า กาลเบื้องต้น. บทว่า ภควา แสดงความที่ทรง
เป็นครูของโลก.

บทว่า ภิกฺขุ เป็นคำแสดงถึงบุคคลควรฟังพระดำรัส. อีก
อย่างหนึ่ง ในบทว่า ภิกษุ นี้พึงทราบอรรถแห่งคำมีอาทิว่า ชื่อว่า
ภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ หรือชื่อว่า ภิกษุ เพราะเขาถึงการเที่ยวขอ.

บทว่า อามนฺเตสิ แปลว่า เรียก คือ กล่าว ได้แก่ ปลุกให้ตื่น. ในบทว่า
อามนฺเตสิ นี้มีใจความดังนี้. แต่ในที่อื่นใช้ในอรรถว่าให้รู้ก็มี. เหมือน
อย่างตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เราขอบอกเธอทั้งหลายให้ทราบ ขอ
เตือนเธอทั้งหลาย. ใช้ในอรรถว่า เรียก ก็มี เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า
มานี่แน่ะภิกษุ เธอจงเรียกสารีบุตรมา ตามคำของเรา.

1. ปาฐะว่า อยุตฺตเทเส วา ธมฺมํ ภาสติ พม่าเป็น อยุตฺเต เทเสวา กาเลวา ธมฺมํ ภาสติ.

บทว่า ภิกฺขโว แสดงอาการเรียก. ก็บทนั้น ตรัสเพราะสำเร็จ
ด้วยการประกอบด้วยคุณ คือความเป็นผู้ขอโดยปกติ. ผู้รู้สัททศาสตร์
ย่อมสำคัญว่า ก็ภิกษุผู้ประกอบด้วยคุณคือความเป็นผู้ขอเป็นปกติ
ก็มี ประกอบด้วยคุณคือความเป็นผู้ขอเป็นธรรมดาก็มี ประกอบด้วยคุณ
คือความเป็นผู้มีปกติการทำดีในการขอก็มี. พระผู้มีพระภาคเจ้าจะ
ทรงประกาศความประพฤติที่ชนเลวและชนดีเสพแล้ว จึงทรงทำการ
ข่มความเป็นคนยากไร้ที่ยกขึ้น ด้วยพระดำรัสนั้น ที่สำเร็จด้วยการ
ประกอบด้วยคุณมีความเป็นผู้ขอเป็นปกติเป็นต้น ของภิกษุเหล่านั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงการทำภิกษุเหล่านั้น ให้หันหน้าตรง
พระพักตร์ของพระองค์ ด้วยพระดำรัสที่ทรงทอดพระนัยนาลง ด้วย
พระหฤทัยที่แช่มชื่น แผ่ไปด้วยพระกรุณาเป็นเบื้องหน้าว่า ภิกฺขโว
นี้ ทรงทำให้ภิกษุเหล่านั้นเกิดความอยากจะฟัง ด้วยพระดำรัสอัน
แสดงพุทธประสงค์จะตรัสนั้นนั่นแหละ. และทรงชักชวนภิกษุเหล่านั้น
ไว้ แม้ในการใส่ใจฟังด้วยดี ด้วยพระดำรัสนั้นอันมีอรรถว่า ปลุกให้
ตื่นนั้นนั่นเอง. จริงอยู่ พระศาสนาจะสมบูรณ์ได้ ก็เพราะการใส่ใจ
ในการฟังด้วยดี.

หากมีคำถามว่า เมื่อเทวดาและมนุษย์แม้เหล่าอื่นก็มีอยู่
เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสเรียกเฉพาะภิกษุเหล่านั้น.
แก้ว่า เพราะภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้เจริญที่สุด ประเสริฐที่สุด อยู่ใกล้ชิด
และเป็นผู้อยู่ประจำ. จริงอยู่ พระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ย่อมทั่วไปแก่คนทั้งปวง. แต่ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นผู้เจริญที่สุด
ของบริษัท
ก็เพราะเป็นผู้เกิดก่อน. และชื่อว่า เป็นผู้ประเสริฐที่สุด

ก็เพราะเป็นผู้ดำเนินตามพระจรรยาของพระศาสดา ตั้งต้นแต่เป็นผู้
ไม่ครองเรือน และเพราะเป็นผู้รับพระศาสนาทั้งสิ้น ชื่อว่าเป็นผู้
ใกล้ชิด
เพราะเมื่อเธอนั่งในที่นั้น ๆ ก็ใกล้พระศาสดาทั้งนั้น ชื่อว่า
อยู่ประจำ ก็เพราะขลุกง่วนอยู่แต่ในสำนักพระศาสดา. อีกอย่างหนึ่ง
ภิกษุเหล่านั้น ชื่อว่า เป็นภาชนะรองรับพระธรรมเทศนา เพราะเกิด
ด้วยการปฏิบัติตามที่ทรงพร่ำสอน แม้เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงตรัส
เรียกภิกษุเหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้.

ถามว่า ก็เพื่อประโยชน์อะไร พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรง
แสดงธรรม จึงตรัสเรียกภิกษุเสียก่อน ไม่ทรงแสดงธรรมเลยทีเดียว.
แก้ว่า เพื่อให้เกิดสติ. ความจริง ภิกษุทั้งหลาย คิดเรื่องอื่นอยู่ก็มี มีจิต
ฟุ้งซ่านก็มี พิจารณาธรรมอยู่ก็มี นั่งมนสิการกรรมฐานอยู่ก็มี
ภิกษุเหล่านั้น เมื่อไม่ตรัสเรียกให้รู้ (ตัว) ทรงแสดงธรรมไปเลย
ก็ไม่สามารถจะกำหนดได้ว่า เทศนานี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็น
ปัจจัย พระองค์ทรงแสดง เพราะอัตถุปปัตติ (เหตุเกิดเรื่อง) อย่างไหน ?
จะพึงรับเอาได้ยาก หรือไม่พึงรับเอาเลย. เพื่อให้ภิกษุเหล่านั้นเกิดสติ
ด้วยพระดำรัสนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสเรียกเสียก่อน แล้วจึง
ทรงแสดงธรรมภายหลัง.

บทว่า ภทนฺเต นี้ เป็นคำแสดงความเคารพ หรือเป็นการถวาย
คำตอบ (คือขานรับ) แด่พระศาสดา. อีกอย่างหนึ่ง ในที่นี้ พระผู้มี
พระภาคเจ้าเมื่อตรัสว่า ภิกฺขโว ชื่อว่า เรียกภิกษุเหล่านั้น. ภิกษุ
ทั้งหลายเมื่อทูลว่า ภทนฺเต ชื่อว่า ขานรับพระผู้มีพระภาคเจ้าใน
ภายหลัง. อนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกว่า ภิกฺขโว. ภิกษุ

ทั้งหลาย กราบทูลในภายหลังว่า ภทนฺเต. พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่ง
ให้ภิกษุตอบ พระดำรัสที่ว่า ภิกฺขโว. ภิกษุถวายคำตอบว่า ภทนฺเต.
บทว่า เต ภิกฺขู ได้แก่ เหล่าภิกษุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
เรียก. บทว่า ภควโต ปจฺจสฺโสสุํ ความว่า ภิกษุทั้งหลายได้ฟังเฉพาะ
พระดำรัสตรัสเรียกของพระผู้มีพระภาคเจ้า. อธิบายว่า หันหน้ามาฟัง
คือรับ ได้แก่ ประคองรับ. บทว่า ภควา เอตทโวจ ความว่า พระผู้มี
พระภาคเจ้า ได้ตรัสคำนั้น คือพระสูตรทั้งสิ้นที่จะพึงกล่าวในบัดนี้.
ก็ด้วยคำเพียงเท่านี้ คำเริ่มต้นอันใด อันประกอบด้วย
กาล, ผู้แสดง, เทสะ, บริษัท และประเทศ ท่านพระอานนท์กล่าวแล้ว
เพื่อกำหนดเอาพระสูตรนี้ได้โดยสะดวก. การพรรณนาเนื้อความแห่ง
คำเริมต้นนั้นจบบริบูรณ์แล้ว แล.
บัดนี้มาถึงโอกาสพรรณนาพระสูตร ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงตั้งไว้ โดยนัยเป็นต้นว่า นาหํ ภิกฺขเว อญฺญํเอวร สมนุปสฺสามิ
ดังนี้แล้ว.
ก็การพรรณนาความนี้นั้น เพราะเหตุที่กำลังกล่าววิจารณ์
เหตุตั้งแห่งพระสูตรปรากฏอยู่ ฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบการวิจารณ์
เหตุตั้งแห่งพระสูตรก่อน.
จริงอยู่ เหตุตั้งแห่งพระสูตร มี 4 อย่าง คือ เกิดเพราะ
อัธยาศัยของตน 1 เกิดเพราะอัธยาศัยของผู้อื่น 1 เกิดด้วยอำนาจ
คำถาม 1 เกิดเพราะเหตุเกิดเรื่อง 1. ในเหตุทั้ง 4 อย่างนั้น พระสูตร
เหล่าใด พระผู้มีพระภาคเจ้าอันผู้อื่นมิได้อาราธนา ตรัสโดยพระ

อัธยาศัยของพระองค์อย่างเดียว เช่น อากังเขยยสูตร, วัตถสูตร เป็นต้น
สูตรเหล้านั้น ชื่อว่า มีเหตุตั้งเกิดจากอัธยาศัยของพระองค์.
อนึ่ง สูตรเหล่าใดที่พระองค์ทรงสำรวจดู อัธยาศัย ความชอบใจ
ใจ บุญเก่า และความตรัสรู้ แล้วตรัสโดยอัธยาศัยของผู้อื่นอย่างนี้ว่า
ธรรมเป็นเครื่องบ่มวิมุตติของพระราหุล แก่กล้าแล้ว ถ้ากระไร เราพึง
แนะนำในธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะยิ่ง ๆ ขึ้นไปแก่พระราหุล เช่น ราหุโล-
วาทสูตร ธรรมจักกัปปวัตตนสูตรเป็นต้น สูตรเหล่านั้น ชื่อว่า มีเหตุตั้ง
เกิดจากอัธยาศัยของผู้อื่น.

ก็เทวดาและมนุษย์เหล่านั้น เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้วถามปัญหา โดยประการต่าง ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้า ถูกเทวดา
และมนุษย์เหล่านั้น ทูลถามแล้ว ตรัสสูตรใด มีเทวตาสังยุต และ
โพชฌังคสังยุต เป็นต้น. สูตรเหล่านั้น ชื่อว่า มีเหตุตั้งเกิดโดยอำนาจ
คำถาม.


อนึ่งสูตรเหล่าใด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเพราะอาศัยเหตุเกิด
ขึ้น เช่นธัมมทายาทสูตร และปุตตมังสูปมสูตรเป็นต้น สูตรเหล่านั้น
ชื่อว่า มีเหตุตั้งโดยเหตุเกิดเรื่องขึ้น.

ในเหตุตั้งสูตรทั้ง 4 นี้ สูตรนี้ชื่อว่ามีเหตุตั้งเกิดจากอัธยาศัย
ของผู้อื่นอย่างนี้. จริงอยู่ สูตรนี้ตั้งขึ้นด้วยอำนาจอัธยาศัยของผู้อื่น.
ถามว่า ด้วยอัธยาศัยของคนพวกไหน ? แก้ว่า ของบุรุษ ผู้หนักในรูป.
ในบทเหล่านั้น อักษร ในคำว่า นาหํ ภิกฺขเว เป็นต้น มี
ปฏิเสธเป็นอรรถ. ด้วยบทว่า อหํ แสดงอ้างถึงพระองค์. พระผู้มี

พระภาคเจ้า ตรัสเรียกภิกษุเหล่านั้นว่า ภิกฺขเว. บทว่า อญฺญํ ความว่า
ซึ่งรูปอื่น จากรูปหญิงที่พึงกล่าวในบัดนี้. บทว่า เอกรูปปํปิ แปลว่า
รูปแม้อย่างหนึ่ง. บทว่า สมนุปสฺสามิ ความว่า สมนุปัสสนา 2 อย่าง
คือญาณสมนุปัสสนา 1 ทิฏฐิสมนุปัสสนา 1. ในสองอย่างนั้น
อนุปัสสนาว่า ภิกษุเห็นโดยเป็นของไม่เที่ยง ไม่ใช่เห็นโดยเป็นของ
เที่ยง นี้ชื่อว่า ญาณสมนุปัสสนา. ส่วนอนุปัสสนามีอาทิว่า ภิกษุ
พิจารณาเห็นรูปโดยเป็นอัตตา ชื่อว่าทิฏฐิสมนุปัสสนา. ในสองอย่าง
นั้น ในที่นี้ ท่านประสงค์เอาญาณสมนุปัสสนา. พึงทราบการเชื่อม
บทนี้ด้วย อักษร. ท่านกล่าวอธิบายไว้ดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย
เราแม้เมื่อตรวจดู ด้วยสัพพัญญุตญาณ ก็มองไม่เห็น แม้รูปอื่นสัก
อย่างหนึ่ง.
บทว่า ยํ เอวํ ปุริสสฺส จิตฺตํ ปริยาทาย ติฏฺฐติ ความว่า รูปใด
เกาะกุมทำกุศลจิตอันเป็นไปในภูมิ 4 ของบุรุษผู้หนักในรูป
ให้สิ้นไปตั้งอยู่. จริงอยู่ การยึดถือ ชื่อว่า การยึดมั่น ได้ในคำว่า
ยึดมั่นกายหญิงทั้งหมด เป็นต้น. ชื่อว่า ให้สิ้นไป ได้ในคำมีอาทิว่า
ภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญา อันภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำ
กามราคะทั้งปวงให้สิ้นไป. ใน1ที่นี้ ก็ถูกทั้งสองอย่าง. ในการยึดถือและ
การให้สิ้นไปทั้งสองอย่างนั้น รูปนี้เมื่อถือเอากุศลจิตอันเป็นไปในภูมิ 4

1. ปาฐะว่า อิธ อิทํ รูปํ จตุภูมิกํ กุสลจิตฺตํ ภณฺหนฺตํ นีลุปฺปลกลาปํ ปุริโส วิย หตฺเถน
คณฺหาติ นาม ฯ เขปยมานํ อคฺคิ วิย อ ทฺธเน อุทกํ สนฺตาเปตฺวา เขเปติ ฯ พม่าเป็น ตตฺถ อิทํ รูปํ
จตุภูมถกุสลจิตฺตํ คณฺหนฺตํ น นีลุปฺปลกลาปํ ปุริโสวิย หตฺเถ คณฺหาติ, นาปิ เขปยามานํ
อคฺคิ วิย อุทธเน อุทกํ สนฺตาเปตฺวา เขเปติ. (แปลตามพม่า)

ชื่อว่าถือเอา เหมือนบุรุษเอามือถือกำอุบลบัวขาบ ก็หามิได้ เมื่อทำให้
สิ้นไป ชื่อว่าทำให้สิ้นไป เหมือนไฟที่ทำน้ำบนเตาไฟ ให้ร้อนแล้วให้
สิ้นไป ก็หามิได้ อนึ่ง 1รูปที่ห้ามการเกิดขึ้นแห่งกุศลจิตนั้น นั่นแหละ
พึงทราบว่า ชื่อว่ายึดและทำกุศลจิตอันแม้ที่เป็นไปในภูมิ 4 ให้สิ้นไป.
ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสว่า ปุริสสฺส จิตฺตํ ปริยาทาย ติฏฺฐติ (ยึดจิตของบุรุษตั้งอยู่)

บทว่า ยถยิทํ ตัดเป็น ยถา อิทํ. บทว่า อิตฺกีรูปํ แปลว่า รูป
ของหญิง. ในคำว่า รูป นั้น พึงทราบอรรถแห่งคำ และสามัญลักษณะ
แห่งรูป ตามแนวแห่งสูตรว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอกล่าวรูปอะไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติใดย่อมแตกสลาย เพราะเหตุนั้นธรรมชาตินั้น
จึงเรียกว่ารูป. รูปย่อมแตกสลายไปเพราะเหตุอะไร ? ย่อมแตกสลาย
ไปเพราะเย็นบ้าง ย่อมแตกสลายไปเพราะร้อนบ้าง.
ก็ศัพท์ว่า รูป นี้ ย่อมได้ในอรรถหลายอย่าง เช่น ขันธ์, ภพ,
นิมิต, ปัจจัย, สรีระ, วัณณะ, สัณฐาน เป็นต้น. จริงอยู่ ศัพท์ว่ารูปนี้
ใช้ในอรรถว่าไปขันธ์ ในประโยคนี้ว่า รูปขันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็น
อดีต อนาคต และปัจจุบัน. ใช้ในอรรถว่ารูปภพ ในประโยคนี้ว่า เจริญ
มรรคเพื่ออุปบัติในรูปภพ. ใช้ในอรรถว่า กสิณนิมิต ในประโยคนี้ว่า
กำหนดอรูปภายใน เห็นรูปกสิณภายนอก. ใช้ในอรรถว่าปัจจัย ใน
ประโยคนี้ว่า อกุศลธรรมอันลามกทั้งที่มีรูป และไม่มีรูป ย่อมเกิดขึ้น.

1. ปาฐะว่า อุปฺปตฺติญฺจสฺส นิวาริยมานเมว จตุภูมิกํ กุสลจิตฺตํ คณฺหาติ เจว เขเปติ จ
เวทิตพฺพํ ฯ พม่าเป็น อุปฺปตฺติญฺจสฺส นิวารยมานเมว จตุภูมกมฺปิ กุสลจิตฺตํ คณฺหาติ เจว
เขเปฺติ จาติ เวทตพฺพํ. (แปลตามพม่า)

ใช้ในอรรถว่าสรีระ ในประโยคนี้ว่า อากาศที่ล้อมรอบตัวก็เรียกว่า
สรีรรูปเหมือนกัน. ใช้ในอรรถว่าวรรณะ ในประโยคนี้ว่า อาศัยจักษุ
และวรรณรูปเกิดจักขุวิญญาณ. ใช้ในอรรถว่าสัญฐาน ในประโยคนี้ว่า
ผู้ถ่อประมาณในรูปสัญฐาน เลื่อมใสในรูปสัณฐาน. พึงสงเคราะห์รูป มีอาทิ
ว่า ปิยรูปํ สาตรูปํ อรสรูโป (รูปน่ารัก รูปน่าชื่นใจ ผู้มีรูปไม่น่ายินดี)
ด้วย อาทิ ศัพท์. แต่ในที่นี้ รูปศัพท์นั้น ใช้ในอรรถว่า วรรณะ กล่าวคือ
รูปายตนะ อันมีสมุฏฐาน 4 ของหญิง. อีกอย่างหนึ่ง วรรณะ (สี)
อย่างใดอย่างหนึ่งที่เนื่องด้วยกายของหญิง ไม่ว่าผ้าที่นุ่ง เครื่องประดับ
กลิ่นหอม และผิวพรรณเป็นต้น หรือเครื่องประดับและระเบียบดอกไม้
ย่อมสำเร็จเป็นอารมณ์แห่งจักขุวิญญาณของชาย. ทั้งหมดนั้น พึง
ทราบว่า เป็นรูปแห่งหญิง เหมือนกัน.
บทว่า อิตฺถีรูปํ ภิกฺขเว ปุริสสฺส จิตฺตํ ปริยาทาย ติฏฺฐติ นี้
ตรัสไว้ เพื่อทำคำที่ตรัสมาก่อนนั่นแลให้หนักแน่น. หรือคำก่อนตรัสไว้
ด้วยอำหาอุปมาอย่างนี้ว่า ยถยิทํ ภิกฺขเว อิตฺถีรูปํ (เหมือนรูปหญิง
นี้นะ ภิกษุทั้งหลาย). แต่คำนี้ตรัสด้วยอำนาจการชี้ภาวะแห่งการยึดถือ.
ในการที่รูปหญิงครอบงำนั้นมีเรื่องสาธกดังต่อไปนี้ :-
ได้ยินว่า พระราชาทรงพระนามว่า มหาทาฐิกนาค ให้สร้าง
พระสถูปใหญ่ ที่ถ้ำ อัมพัฏฐะ ใกล้เจติยคิรีวิหาร กระทำคิริภัณฑ-
วาหนบูชา (บูชาด้วยนำของที่เกิด ณ ภูเขามา) มีหมู่นางสนมแวดล้อม
เสด็จไปยังเจติยคิรีวิหาร ถวายมหาทาน แก่ภิกษุสงฆ์ ตามกาลอัน
สมควร. ธรรมดาว่า สถานที่ชนเป็นอันมากประชุมกัน ชนทั้งหมด
ไม่มีสติที่จะตั้งมั่นอยู่ได้. พระอัครมเหสีของพระราชา ทรงพระนามว่า

ทมิฬเทวี ทรงตั้งอยู่ในวัยสาว น่าชม น่าพิศมัย. ครั้งนั้นพระเถระ
รูปหนึ่งชื่อจิตตะ ผู้บวชเมื่อแก่ แลดูโดยทำนองที่ไม่สำรวม ยึดเอานิมิต
ในรูปารมณ์ของพระอัครมเหสีนั้นเป็นดังคนบ้า. เที่ยวพูดไปในที่ ๆ
ตนยืนและนั่งว่า เชิญสิ แม่ทมิฬเทวี เชิญสิ แม่ทมิฬเทวี. ตั้งแต่นั้นมา
ภิกษุหนุ่มและสามเณร ตั้งชื่อไว้เรียกท่านว่า พระอุมมัตตกจิตตเถระ
(พระจิตบ้า). ต่อไม่นานนัก พระเทวีนั้นก็ทิวงคต. เมื่อภิกษุสงฆ์ไป
เยี่ยมในป่าช้าแล้วกลับมา ภิกษุหนุ่มและสามเณรได้ไปยังสำนักของ
ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านพระจิตเถระ ขอรับ ท่านพร่ำเพ้อถึง
พระเทวีพระองค์ใด พวกผมไปเยี่ยมป่าช้าของพระเทวีพระองค์นั้น
กลับมาแล้ว ถึงภิกษุหนุ่มและสามเณรทั้งหลายจะพูดอย่างนั้น ท่าน
ก็ไม่เชื่อ ได้แต่พูดดังคนบ้าว่า พวกท่านไปเยี่ยมใคร ๆ ก็ได้ในป่าช้า
หน้าของพวกท่านจึงมีสีเหมือนควันไฟ. รูปแห่งหญิงนี้ได้ครอบงำ
จิตของพระจิตตเถระ ผู้เป็นบ้าตั้งอยู่ด้วยประการฉะนี้.
อีกเรื่องหนึ่ง เล่ากันว่า วันหนึ่งพระมหาราชา ทรงพระนามว่า
สัทธาติสสะ มีหมู่นางสนมแวดล้อมเสด็จมายังวิหาร. ภิกษุหนึ่งรูป
หนึ่ง ยืนอยู่ที่ซุ้มประตูแห่งโลหปราสาท ตั้งอยู่ในความไม่สำรวม
แลหญิงคนหนึ่ง. ฝ่ายหญิงนั้นก็หยุดดูภิกษุหนุ่มรูปนั้น. ทั้งสอง
ถูกไฟคือ ราคะ ที่ตั้งขึ้นในทรวงแผดเผาได้ตายไปด้วยกัน. รูปแห่ง
หญิงได้ครอบงำจิตของภิกษุหนุ่มตั้งอยู่ ด้วยประการอย่างนี้.
อีกเรื่องหนึ่ง เล่ากันมาว่า ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่ง จากกัลยาณิย-
มหาวิหาร ไปยังประตูบ้านกาฬทีฆวาปีคาม เพื่อแสดงพระปาติโมกข์

เสร็จการแสดงพระปาฏิโมกข์แล้ว เมื่อไม่เธอถือคำพูดของผู้ปรารถนา
ดี คิดว่า ในที่ ๆ ไปแล้ว เราถูกภิกษุหนุ่ม และสามเณรถามแล้ว
ควรจักบอกอาการที่เราอาศัยหมู่บ้านอยู่ ดังนี้แล้ว จึงไปเที่ยว
บิณฑบาตในบ้าน ยึดเอานิมิต ในวิสภาคารมณ์ (อารมณ์ที่เป็น
ข้าศึก) แล้วไปยังที่อยู่ของตน จำผ้าที่นางนุ่งได้ พลางถามว่า ท่าน
ขอรับ ท่านได้ผ้านี้มาอย่างไร ? รู้ว่านางตายแล้ว คิดว่า หญิงชื่อเห็น
ปานนี้ตายเพราะเรา ดังนี้ ถูกไฟคือราคะที่ตั้งขึ้นแผดเผาก็สิ้นชีวิตไป.
บัณฑิตพึงทราบว่า รูปของหญิงครอบงำจิตของบุรุษตั้งอยู่ แม้ด้วย
อาการอย่างนี้.
จบ อรรถกถาสูตรที่ 1

อรรถกถาสูตรที่ 2


สูตรที่ 2

เป็นต้น ท่านกล่าวแล้ว ด้วยอำนาจแห่งบุคคลผู้หนักในเสียง
เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิตฺถีสทฺโท ได้แก่ เสียงพูด ขับร้อง
และประโคม อันมีจิตเป็นสมุฏฐานของหญิง. อีกอย่างหนึ่ง เสียงพิณ,
ขลุ่ย, สังข์, บัณเฑาะว์เป็นต้น ที่สำเร็จด้วยการประกอบของหญิง
ที่มีเครื่องนุ่งห่มบ้าง ที่มีเครื่องประทับบ้าง พึงทราบว่า เสียงของหญิง
ทั้งนั้น. จริงอยู่ เสียงหญิงทั้งหมดนั้น ย่อมครองงำจิตของบุรุษตั้ง
อยู่ ฉะนี้แล. ในสูตรนั้น พึงทราบเรื่องปูทอง นกยูงทอง และภิกษุ
หนุ่มเป็นต้น.
ดังได้สดับมาโขลงพระยาช้าง โขลงใหญ่ อาศัยซอกเขาอยู่.
และในที่ไม่ไกลซอกเขานั้น มีสระขนาดใหญ่สำหรับใช้สอย. ในสระ